ในวัยเด็ก ทีน่า รอดริเกรซ เป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวและการทารุณกรรมทางเพศ ซึ่งเธอได้โทร.ไปที่ 911 เพื่อแจ้งการกระทำทารุณกรรมที่พ่อของเธอทำต่อแม่ของเธอซ้ำแล้วซ้ำเล่า การกระทำของพ่อไม่เพียงแต่จะทำให้เธอเกิดความผิดปกติในการรับประทานอาหารอย่างรุนแรง แต่ยังทำให้เกิดบาดแผลทางใจที่ฝังรากลึกซึ่งสามารถเยียวยาได้หลังจากผ่านการทำครอบครัวบำบัดเป็นเวลาหลายปี แต่อย่างไรก็ตามเส้นทางแห่งการสมานแผลนี้นำไปสู่ผลลัพท์ที่ไม่คาดฝันคือเมื่อเวลาผ่านไปรอดริเกรซได้กลับมาคืนดีกับชายผู้ซึ่งทำลายวัยเด็กของเธอ
จากการทำงานของเธอร่วมกับผู้ที่อยู่รอดจากการทารุณกรรมทางเพศ รอดริเกรซได้เชิญพ่อของเธอมาแบ่งปันประสบการณ์ของเขาเกี่ยวกับวิธีการลงโทษในกระบวนยุติธรรมทางอาญากับผู้ที่กระทำชำเราคนอื่น แต่สิ่งที่เขาคิดว่ามันเจ็บปวดกว่าการถูกขังคุกคือการที่จะต้องเผชิญกับความเสียหายที่เขากระทำต่อครอบครัวของเขาเอง
“มันมีช่องว่างในเรื่องของความรับผิดชอบในทางวัฒนธรรมของกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความโกรธหรือแรงกระตุ้นให้กระทำความรุนแรงและการขาดความสามารถที่จะควบคุมตนเอง และกลุ่มซึ่งเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว” รอดริเกรซกล่าวในระหว่างงานสัมนาที่ถูกจัดขึ้นโดย Ethnic Media Services
“เรายังพึ่งพาการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการเข้าแทรกแซงจากระบบ (ยุติธรรมทางอาญา) ซึ่งได้ช่วยสร้างความเจ็บปวด แล้วยังต้องการให้เราติดกับอยู่ในความเจ็บปวดนั้น … เราจึงจำเป็นต้องสร้างความรับผิดชอบทางวัฒนธรรมต่อตนเองด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและการป้องกันแก่เยาวชนของเรา” ผู้สนับสนุน ซึ่งในวันนี้ได้ตำแหน่งผู้จัดการของรัฐแคลิฟอร์เนียในองค์กร Crime Survivors for Safety and Justice.
จากรายงานในปี 2020 ของวารสาร New England Journal of Medicine พบว่า ในระหว่างช่วงไวรัสระบาด 1 ใน 4 ของผู้หญิงและ 1 ใน 10 ของผู้ชายพบกับการทารุณกรรมโดยคู่รักหรือคู่สมรส โดยรายงานที่เกี่ยวกับประวัติบ่งชี้ไปยังการเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลันของความรุนแรงในครอบครัวในระหว่างช่วงไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด
“เป็นเรื่องยากสำหรับเหยื่อที่จะเข้าถึงทรัพยากรหรือความช่วยเหลือในขณะที่กักตัวกับคู่ที่ใช้ความรุนแรงกับเขา” โมนิก้า คานท์ ผู้อำนวยการบริหารของ Asian Pacific Institute on Gender-based Violence ซึ่งเป็นองค์กรที่มีสำนักงานในเมืองแอตแลนต้ากล่าว “มันยากที่จะมีเวลาวิ่งเข้าไปในห้องน้ำเพื่อแอบโทรศัพท์… แม้จะหาทางเข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องยากเมื่อครอบครัวผู้อพยพจำนวนมากไม่ได้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีแบบเดียวกับที่เรามีซึ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดในช่วงไวรัสระบาด” เธอเสริม
วิธีการที่ระบบยุติธรรมทางอาญาทำงานในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวโดยเฉพาะสำหรับชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์และผู้อพยพเริ่มต้นด้วยการโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 911 จากนั้นตำรวจจะบันทึกคำร้องเรียนและศาลจะเข้ามาเกี่ยวข้อง จะมีการออกคำสั่งห้ามกระทำการ หรือให้การบำบัดเกี่ยวกับการจัดการความโกรธ หรือมีวิธีซึ่งอาจแยกผู้กระทำความรุนแรงออกจากครอบครัว แต่ไม่อาจแก้ไขต้นตอของความรุนแรงได้
การเสนอวิธีแก้ไขปัญหาด้วยการแยกครอบครัวโดยที่ไม่มีเส้นทางสู่การกลับมาอยู่ร่วมกันในภายหลังแม้ว่าทั้งผู้กระทำและเหยื่อผู้ถูกกระทำต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตรร่วมกันเกิดขึ้นอยู่บ่อย ยังไม่นับความกลัวของแม่ผิวดำว่าตำรวจจะเข้ามาแทรกแซงและฆ่าคู่ของเธอ หรือความกลัวของแม่ผู้อพยพซึ่งจบลงด้วยคนบางคนในครอบครัวต้องถูกเนรเทศเนื่องจากการโทร.ไปหาผู้รักษากฏหมาย
“การหย่าร้างหรือการเดินจากสถานการณ์ที่ใช้ความรุนแรงไม่ได้เป็นทางเลือกลำดับแรก” คานท์ ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนลูกค้าในคดีความรุนแรงในครอบครัวหลายร้อยคนกล่าว “การกลับไปอยู่ร่วมกันโดยใช้บริการทางสังคมสงเคราะห์มีความสำคัญมากกว่าการใช้ระบบที่ได้รับการรับรองให้ใช้กับอาชญากรที่มีอยู่ในตอนนี้”
อย่างไรก็ตาม ผู้อพยพสามารถเข้าถึงทรัพยากรเหล่านี้ได้น้อยมากเนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษาหรือความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมซึ่งบางครั้งกดดันให้เหยื่อยังคงอยู่กับสถานการณ์ที่มีความรุนแรงเพื่อที่จะหลีกเลี่ยง “การสร้างความอับอายต่อครอบครัว” การตกงานในระหว่างช่วงไวรัสระบาดก็ยังเพิ่มภาวะพึ่งพาทางการเงินของคู่ที่ใช้ความรุนแรง ในหลายเหตุการณ์เหยื่อที่รอดจากความรุนแรงไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ในการช่วยเหลือคนตกงาน
ปัญหาของหนึ่งของสังคม
พ่อของรอดริเกรซถูกจองจำในคุกเพื่อชดเชยการสร้างความเจ็บปวดกับครอบครัวของเธอ หลังจากที่เขาตกลงจะเข้าร่วมในกระบวนการฟื้นฟูซึ่งเธออธิบายมันว่า “ทารุณ” และ เต็มไปด้วยการสนทนาที่ “ตรงไปตรงมาและอ่อนไหว”
“ฉันพบว่าเขาก็ต้องต่อสู้กับความคิดที่จะฆ่าตัวตายเช่นเดียวกับฉันด้วยเช่นกัน” รอดริเกรซกล่าวต่อบุคคลผู้ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่ได้เจอไม่เพียงแต่จะช่วยเหลือเธอในการเยียวยาแต่ยังให้แรงบันดาลใจกับเธอให้เป็นผู้นำโปรแกรมการป้องกันความรุนแรงในครอบครัวมาสู่คุก Valley State Prison อีกด้วย
“สังคมมีการกำหนดในเรื่องเพศ และคาดหวังว่าผู้ชายจะต้องเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว” รอดริเกรซตั้งข้อสังเกต “ไม่มีใครพูดเกี่ยวกับชนิดของแรงกดดันของชายผิวดำซึ่งในการสัมภาษณ์งานจะถูกคัดออก 1 ใน 5 เนื่องจากสีผิว ไม่ว่าเขาจะมีการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือมีทักษะที่สูงก็ตาม… ความโกรธเกรี้ยวก็มาจากบาดแผลของการถูกกดขี่และการถูกคัดออกจากโอกาสที่จะได้เป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวเหล่านั้น” เธอกล่าวเสริม
ในกลุ่มชุมชนที่พูดภาษาสแปนิช ความคาดหวังในหลายชั่วคนต่อการเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัวที่อพยพเข้ามาเพื่อหาอนาคตที่ดีขึ้น ยังสามารถสร้างความหวาดกลัวต่อความล้มเหลวและยังผลให้เกิดแรงกระตุ้นให้กระทำความรุนแรง
“เราเห็นความรุนแรงในครอบตัวว่าเป็นผลของประสบการณ์ส่วนตัว แต่แท้จริงแล้วมันเป็นปัญหาทางสังคมหรือทางวัฒนธรรม” บาทหลวงอลีส มัวร์-ออร์บีห์ ผู้อำนวยการบริหารของ California Partnership to End Domestic Violence กล่าว
“มันบอกถึงสุขภาพของสังคมของเรา การแตกสลายของสังคมของเรา บาดแผลซึ่งคนผู้หนึ่งประสบกับความรุนแรงในครอบครัว การทารุณกรรมทางเพศ การค้ามนุษย์ การล่วงละเมิดผู้เยาว์ เรื่องเหล่านี้มีผลกระทบกับทั้งชีวิต”
ในการทำงานกับเหยื่อเหล่านี้มากกว่า 20 ปี มัวร์-ออร์บีห์สังเกตถึงผลกระทบของอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบสถานการณ์รุนแรง (พีทีเอสดี) ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งไม่ได้อนุญาตให้เขา “ใช้ชีวิตอย่างเต็มความสามารถในฐานะที่เป็นมนุษย์”
“ผู้หญิง เด็กผู้หญิง และผู้ซึ่งถูกบ่งลักษณ์ด้วยพลังงานแห่งเพศหญิงเป็นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดเสมอ” มัวร์-ออร์บีห์ กล่าว “แต่ถ้าเราพูดเกี่ยวกับความเป็นเพศชายที่แข็งแรง แล้วความเป็นเพศหญิงที่แข็งแรงสมบูรณ์ล่ะ? เราทุกคนจำเป็นจะต้องเป็นบุคคลที่แข็งแรงและสมบูรณ์…เราจะเปลี่ยนมุมมองได้อย่างไร? เมื่อเราหยุดบูชาการควบคุมและอำนาจดังที่เราเชิดชู เมื่อเราหยุดที่จะสนับสนุนให้ลูกของเราแสวงหาอำนาจและการควบคุม แล้วเราจะสามารถเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด”
สำหรับเจอรี่ เทลโล่ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Training and Capacity Building ที่ Compadres Network (เขาคิดว่า) มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพูดเรื่องความรุนแรงในครอบครัวโดยไม่พูดถึงการถูกกดขี่ การเหยียดเชื้อชาติ กลุ่มชาตินิยมผิวขาว บาดแผลของชั่วอายุคน “โปรแกรมซึ่งเข้าใจเรื่องเหล่านี้อยู่ที่ไหน? ไม่มีเลย!”
เทลโล่ซึ่งถูกเลี้ยงดูมาพร้อมกับพี่น้อง 7 คนในชุมชนครอบครัวผิวดำและผิวสีน้ำตาลในเมืองคอมป์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย สูญเสียพ่อซึ่งเป็นผู้อพยพมาจากเมืองชิวาว่าเมื่อเขายังเป็นเด็กมาก เนื่องจากวัฒนธรรมที่ผู้ชายต้องเข้มแข็ง เขาไม่ได้ไว้ทุกข์ให้กับการเสียชีวิตของบิดา
“ฉันเก็บความเศร้าโศกไว้ในใจ ฉันรู้ว่าเพื่อที่จะอยู่รอดให้ได้ฉันจะต้องไม่รู้สึกอะไร ความรู้สึกจะทำให้ฉันอ่อนแอ” เขากล่าว เทลโล่ยังไม่รู้วิธีในการแสดงออกถึงความเจ็บปวดเมื่อเขาเห็นพ่อแม่ของเพื่อนหลายคนถูกจับและเนรเทศออกไป หรือแม้แต่เมื่อถูกยิง “ฉันไม่สามารถร้องไห้ได้”
เมื่อ 32 ปีก่อนเขาร่วมกับผู้ร่วมงานซึ่งเป็นนักจิตวิทยาอีกคนสร้างเครือข่าย Compadres Network เพื่อก่อตั้งกลุ่มช่วยเหลือ และหลักสูตรที่จะเป็นเส้นทางสำหรับเด็กกำพร้าที่ยังเยาว์ พ่อของวัยรุ่น และสำหรับการนำเอาครอบครัวมาอยู่ร่วมกัน
“เราตัดสินใจว่าขั้นตอนแรกในการเยียวยาคือการเยียวยาตัวเราเอง เราต้องเอาความศักดิ์สิทธิ์ในความเป็นมนุษย์ของเรากลับมา เรามียารักษาภายในตัวของเราและชุมชนของเรา” เขากล่าว “การให้กำลังใจตัวเราเป็นเรื่องที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงนี้” เขาสรุป